วันอังคารที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ประวัติความเป็นมา


ฉลอง 4 ปี"ถนนคนเดินเชียงใหม่ จากเชียงใหม่นิวส์
ฉลอง 4 ปี"ถนนคนเดินเชียงใหม่"ที่ผ่านมายกนิ้วให้!นักเที่ยวตรึม“ถนนคนเดิน” หรือ (Walking Street)เป็นหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและการกำหนดใช้พื้นที่เมืองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์พื้นที่ในเมืองซึ่งหลายประเทศได้ดำเนินการ และ “ถนนคนเดิน” ในหลายประเทศก็ได้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งรวมงานศิลปะ แหล่งรวมศิลปิน สถานที่ที่ศิลปินอิสระจะได้ใช้เป็นเวทีในการแสดงออกทั้งงานดนตรี วรรณศิลป์ จิตรกรรม ฯลฯ ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติจะต้องแวะมาเยี่ยมเยือน

สำหรับในประเทศไทยนั้น รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลแรกที่ได้ประกาศให้มีการดำเนินการ “ถนนคนเดิน” ในประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการประหยัดพลังงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนกันยายน 2544 ซึ่ง นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้นำมาตรการดังกล่าวมาจัดทำเป็น “โครงการปิดถนนคนเดินเพื่อประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ และส่งเสริมการท่องเที่ยว” และทำมาสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบของโครงการนำร่อง โดยใช้ถนนสีลม จังหวัดกรุงเทพฯ เป็นต้นแบบของ “ถนนคนเดิน” ในประเทศไทย และจัดกิจกรรมสาธิต ในชื่อ “7 มหัศจรรย์ที่สีลม” โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และมีสำนักงานคณะกรรมการระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2544 เป็นเวลา 7 สัปดาห์

จากการตอบรับ “ถนนคนเดินที่สีลม” ทำให้รัฐบาลเห็นว่ารูปแบบกิจกรรม “ถนนคนเดิน” นอกเหนือจากจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเมืองโดยเฉพาะเมืองใหญ่ในภูมิภาค ดังเช่น จังหวัดเชียงใหม่ ยังสามารถปรับรูปแบบกิจกรรมใน “ถนนคนเดิน” ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับคนในเมืองใหญ่ๆ นั้น

“เชียงใหม่ นพบุรี ศรีนครพิงค์”
นครแห่งความรุ่งเรืองด้านศิลปกรรม โบราณวัตถุ ตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาที่เปี่ยมมนต์เสน่ห์ ซึ่งเป็นความรุ่งเรืองที่ก้าวไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยเชียงใหม่ได้กำหนดกรอบวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาจังหวัด ซึ่งหนึ่งในแนวทางการดำเนินการก็คือ การกำหนดให้มีการใช้ที่ดินในจังหวัดอย่างเหมาะสมเพื่อให้เชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีไปพร้อมๆ กับการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เปี่ยมศักยภาพ และกิจกรรม “ถนนคนเดิน” ก็คืออีกหนึ่งกิจกรรมที่จะมีการนำมาดำเนินการในจังหวัดเชียงใหม่

โดยกำหนดให้พื้นที่ดำเนินการคือ “ถนนท่าแพ” อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นถนนสายเศรษฐกิจเส้นแรกของจังหวัด มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีชุมชนที่จะสามารถกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนได้ นับเป็นการปลุกวัฒนธรรมของพื้นที่ให้มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง เป็นการ “คืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนนให้คนเดิน” ครั้งแรกของจังหวัดเชียงใหม่

ส่วนการจัดกิจกรรมบนถนนท่าแพ ในแนวคิด การคืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนนให้คนเดิน จะเป็นการนำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตงดงามของล้านนาเป็นหัวใจในการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมถนนคนเดิน ขณะเดียวกันก็สอดแทรกการรณรงค์ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การลดมลพิษ และการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ซึ่งกิจกรรมถูกกำหนดให้จัดทุกๆวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 ก.พ. -วันอาทิตย์ที่ 7 เม.ย. 45 รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง โดยใช้ชื่อว่า"10 มหัศจรรย์ ล้านนาที่ท่าแพ "โดยจะเน้นกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ เน้นการนำความงดงามในชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของล้านนา เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป โดยมีกิจกรรมต่างๆแต่ละสัปดาห์ดังนี้

ครั้งที่ 1 วันอาทิตย์ที่ 3 ก.พ. 45 งานงามตาบุฟผาชาติ
ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 10 ก.พ. 45 งานงามภาพวาดลีลา
ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 17 ก.พ. 45 งานงามค่าหัตถกรรม
ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 24 ก.พ. 45 งานงามค่าสะคราญนาฎศิลป์
ครั้งที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 3 มี.ค. 45 งานงามถื่นคีตกรรม
ครั้งที่ 6 วันอาทิตย์ที่ 10 มี.ค. 45 งานงามล้ำลือคน
ครั้งที่ 7 วันอาทิตย์ที่ 17 มี.ค. 45 งานงามพลพร้อมปัญญา
ครั้งที่ 8 วันอาทิตย์ที่ 24 มี.ค. 45 งานงามรสอาหารเมือง
ครั้งที่ 9 วันอาทิตย์ที่ 31 มี.ค. 45 งานงามเรืองรีตนครพิงค์
ครั้งที่ 10 วันอาทิตย์ที่ 7 เม.ย. 45 งานงามจริงถิ่นไทยงาม

ทั้งนี้ระยะทางของถนนคนเดินที่ท่าแพ โดยปิดตั้งแต่ประตูท่าแพถึงแยกอุปคุตความยาวประมาณ 950 เมตร โดยนำขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีที่งดงามของล้านนามาเป็นหัวใจในการนำเสนอ ในรูปกิจกรรมถนนคนเดิน ขณะเดียวกันก็สอดแทรกการรณรงค์ในเรื่อง การประหยัดพลังงาน การลดมลพิษ และส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในกิจกรรมพื้นฐานของ “ถนนคนเดิน” โดยกำหนดให้ปิดถนนท่าแพเป็น “ถนนคนเดิน” ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 24.00 น. และจัดกิจกรรมซึ่งล้วนเป็นความงดงามของล้านนาโดยแท้
อย่างไรก็ตามจากการจัดกิจกรรมถนนคนเดินในปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงใหม่ได้ทำการย้ายสาธารณูปโภคบนถนนท่าแพลงใต้ดิน จึงได้ย้ายการจัดกิจกรรมถนนคนเดินจากถนนท่าพ ไปจัดที่ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค. 47 เป็นต้นมา ระยะทางประมาณ 1.50 กิโลเมตร และจัดกิจกรรมการแสดงบริเวณลานอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์

ในการนี้จึงได้มีการเชิญประชาชน และผู้ประกอบการค้าย่านถนนราชดำเนินร่วมประชุม มติที่ประชุมได้ขอให้ปรับเปลี่ยนเวลาจัดกิจกรรมเป็นเวลา 15.00-22.00 น. เทศบาลฯจึงรับมติที่ประชุมปรับเปลี่ยนเวลา เพื่อความเหมาะสมและไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จัดกิจกรรม
โครงการฯ นี้นอกจากจะดำเนินเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ดังกล่าวข้างต้นแล้วยังจะเป็นการก่อประโยชน์ให้กับชุมชน ทั้งในแง่ของสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิต เพราะการปิดถนน จะทำให้สามารถนำพื้นที่มาสร้างเป็นลานกิจกรรมทางสังคม กลายเป็นที่สาธารณะกลางเมืองให้ชุมชน พร้อมทั้งให้โอกาสถนนและพื้นที่ได้ฟื้นตัวจากมลพิษ เป็นการพัฒนาทั้งทางด้านรูปธรรมและนามธรรม คือ ได้มีโอกาสปรับปรุงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเมือง และคุณภาพจิตใจของประชาชนต่อไป

ในปีนี้ เป็นปีที่ถนนคนเดินเชียงใหม่ครบรอบ 4 ปี ก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงาน"เฉลิมฉลอง ครบรอบ 4 ปี ถนนคนเดินเชียงใหม่ " เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานถนนคนเดินเชียงใหม่และเผยแพร่ผลงานการผลิตสินค้าภูมิปัญญาไทยที่นำมาจำหน่ายในงานถนนคนเดินเชียงใหม่นี้ด้วย

นาย พรชัย จิตรนวเสถียร รองเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2549 ที่จะถึงนี้ ตลอดถนนสายราชดำเนินไปจนถึง ข่วงอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ โดยในวันที่ 3 วันศุกร์จะปิดถนนตั้งแต่เวลา 18.00-23.00น. ,วันเสาร์ที่ 4 ปิดถนนตั้งแต่เวลา 15.00-23.00 น.และในวันอาทิตย์ที่ 5 จะปิดถนนตั้งแต่เวลา 15.00-22.00 น.

ทั้งนี้ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงานเวลาประมาณ 20.00 น. ณ บริเวณ ข่วงอนุเสาวรีย์สามกษัตริ์ย ซึ่งก็จะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา พร้อมกับกิจกรรมต่างๆที่น่าสนใจมากมาย

สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 4 ปี "ถนนคนเดินเชียงใหม่ ก้าวสู่ปีที่ 5 และยั่งยืนตลอดไป" นั้น ได้มีการประชุมเตรียมงานไว้แล้ว โดยจะเนรมิตรบรรยากาศของงานให้มีความเป็นล้านนามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสินค้าหัตถกรรมและสินค้าภูมิปัญญาไทยที่จะมีการจำหน่ายและสาธิตการผลิตในแต่ละโซนซึ่งก็ในขณะนี้ก็ได้มีการแบ่งการจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง หัตถกรรมและสินค้าภูมิปัญญาไทยออกเป็น 5 โซน โซน 1 ตั้งแต่แยกโรงแรมมนตรีไปจนถึงแยกแสงชัยมอเตอร์ , โซน 2 ตั้งแต่แยกแสงชัยมอเตอร์ไปจนถึง แยกกลางเวียง โซน 3 ตั้งแต่แยกกลางเวียงไปจนถึงข่วงอนุเสาวรีย์ 3 กษัตริ์ย , โซน 4 ตั้งแต่ แยกกลางเวียงไปจนถึงโรงเรียนพุทธิโสภณและโซน 5 ตั้งแต่แยกกลางเวียงไปจนถึงสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่
ในขณะนี้ทางคณะกรรมการในแต่ละโซนก็ได้มีการจัดเตรียมคัดเลือกสินค้าภูมิปัญญาไทยที่จะนำมาสาธิตเพื่อสร้างสีสันให้กับงานในแต่ละโซนแล้ว จะมีการสาธิตการทำเครื่องเงิน การทอผ้าทอมือด้วยกี่โบราณ การทำเครื่องเขิน การผลิตสินค้าภูมิปัฯาเชิงสร้างสรรค์ที่แปลกตาต่างๆมากมาย รวมถึงการประดับตกแต่งถนนตลอดสายราชดำเนินด้วยตุงล้านนาและโคมไฟ เพื่อให้บรรยากาศของงานมีความเป็นล้านนาและเพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้เข้าชมงานเกิดความประทับใจมากที่สุด

ส่วนผู้ประกอบการในงานถนนคนเดินทุกร้านนั้นก็จะร่วมกันแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองพร้อมกับจัดวางสินค้าจำลองเหมือนกาดในสมัยอดีต จะไม่มีการตั้งราวแขวนโชว์สินค้าจะจัดวางกับพื้นอย่างสวยงามเพื่อร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของล้านนาอย่างแท้จริง ซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งของไฮไลท์ในการจัดงาน
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมซึ่งเป็นไฮไลท์ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกสินค้าภูมิปัญญาถนนคนเดินดีเด่น จำนวน 50 รายการ จากพื้นที่ 5 โซน มาจัดจำหน่ายและสาธิตการผลิตบริเวณข่วงอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ หรือจะเป็นการจำหน่ายสินค้า 50 % โดยได้ขอความร่วมมือจากบรรดาพ่อค้า-แม่ค้า ซึ่งเป็นผู้ประกอบการบนถนนคนเดินเชียงใหม่ นำสินค้าในร้านของตนเองจำนวน 1 ชิ้น นำมาร่วมจำหน่ายในราคา 50 % เพื่อนำรายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายไปช่วยเหลือ เด็ก คนชรา คนพิการและผู้ด้อยโอกาสในสังคมต่อไป เพราะผู้ประกอบการเหล่านี้ถือเป็นผู้มีโอกาสที่เข้ามาจำหน่ายผลิตและจำหน่ายสินค้าในงานถนนคนเดินสร้างรายได้และอาชีพที่ดีให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ ดังนั้นจึงถือโอกาสในงานครอบรอบ 4 ปี ถนนคนเดินนำรายได้จากการจำหน่ายสินค้า 50 % ไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมต่อไป

ที่ผ่านมา การจัดงานถนนคนเดินในทุกวันอาทิตย์ติดต่อกันมาถึง 4 ปีนี้ ทำให้ถนนคนเดินเชียงใหม่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจ. เชียงใหม่ จากตัวเลขนักท่องเที่ยวที่มาเดินถนนเป็นหลักพัน ในปัจจุบันกลายเป็นหลักแสนจากการเก็บข้อมูลตัวเลขนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวและจับจ่ายซื้อของในงานถนนคนเดินเชียงใหม่ช่วงไฮซีซั่นล่าสุดมียอดสูงถึง 150,000 ต่อสัปดาห์และไม่ต่ำกว่า 100,000 คนในช่วงโลว์ซีซั่น
ทำให้มีเงินสะพัดในปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทในแต่ละสัปดาห์ จากจุดเริ่มต้นการทำธุรกิจผลิตสินค้าออกจำหน่ายของผู้ประกอบการจากการจำหน่ายสินค้าไม่กี่ชิ้นในขณะนี้นอกจากจะการจำหน่ายปลีกในถนนคนเดินแล้ว ยังมียอดสั่งซื้อสินค้าทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการและเ อื้อต่อการท่องเที่ยวรวมถึงเศรษฐกิจของจ. เชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี มีผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้ามากกว่า 3,000 ราย

และจากการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาเที่ยวยังถนนคนเดินเชียงใหม่ ต่างก็ประทับใจและชื่นชมในความยั่งยืนของถนนคนเดินเชียงใหม่ ที่สามารถจัดให้ถนนคนเดินเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งสินค้าภูมิปัญญาไทยที่สร้างชื่อเสียงให้กับจ. เชียงใหม่ไปทั่วโลก
และด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงบรรดาผู้ประกอบการในงานถนนคนเดินเชียงใหม่ที่ได้มีการประสานความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบที่จัดไว้ ทำให้ถนนคนเดินเชียงใหม่เป็นถนนคนเดินที่มีความยั่งยืนตลอดยิ่งๆขึ้นไปในอนาคต

ดังนั้นการจัดงาน "เฉลิมฉลองครบรอบ 4 ปี ถนนคนเดินเชียงใหม่ก้าวสู่ปีที่ 5และยั่งยืนตลอดไป" จะเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้นักท่องเที่ยวและทั่วโลกได้รู้จักถนนคนเดินเชียงใหม่มากขึ้น และในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2549 นั้น ได้เชิญสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศรวมถึงรายการทุกช่องมาร่วมทำรายการและเผยแพร่ข่าวการจัดงานในครั้งนี้ทั่วประเทศและทั่วโลก เพื่อให้ถนนคนเดินเชียงใหม่เป็นถนนที่ทั่วโลกรู้จักและอยากจะมาท่องเที่ยวเชียงใหม่มากขึ้นต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ถนนคนเดินเชียงใหม่ สามารถกระตุ้นและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจใช้สินค้าภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าด้านแฟชั่น ที่ได้รับความสนใจและนิยมจากวัยรุ่นจำนวนมาก มีการปรับเปลี่ยนหันมาใช้เสื้อผ้า กระเป๋าและรองเท้าแบบพื้นเมืองมากขึ้น จนกลายเป็นแฟชั่นยอดฮิตในกลุ่มคนต่างจังหวัดและดาราที่นิยมมาเดินท่องเที่ยวและเลือกซื้อสินค้าจากภูมิปัญญาไทยเหล่านี้ไปใช้

การจัดงานในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของจ. เชียงใหม่และประเทศไทยในอนาคตต่อไป และเชื่อมั่นว่า การจัดงานจะมีความยิ่งใหญ่อลังการ สร้างความตื่นตาตื่นใจและความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเชียงใหม่ในช่วงของการจัดงานและตลอดไปด้วย

Sunday walking street

This place was Amazing walking street in Chiang Mai As part of my recent tour of Thailand, I went to Chiang Mai to celebrate the new year and I had a leisure time to stroll a walking street in Chiang Mai during my stay. You will see lively vendors hawk their glittering wares, as the ‘plink-plink’ of street musicians, and aromatic medley of blooming flowers, pounded shrimp paste, and sweet coconut, waft through the warm, evening air. An amble through Chiang Mai’s thriving Sunday Market is a sensual assault, unique retail therapy opportunity, and fascinating lesson in Northern Thai culture rolled into one! Winding down Ratchadamnern Road in the quaint ‘Old City’ district, this popular local market is a showcase of quality handicrafts and delicacies from all corners of the Northern provinces. Every Sunday evening, from 2pm-10pm, the stretch becomes a traffic-free zone, allowing vendors, buskers and bargain hunters to converge but, me, I came here to find something to eat and buy some local souvenirs at a good price for my friends. Colorful stalls line the way, offering a vast array of northern products, and a far more authentic experience than the city’s touristy Night Bazaar. The soft greens and blues of celadon ceramic, the colorful embroidery of hand-woven hill tribe fabrics, the intricate, shimmering work of Chiang Mai’s talented silversmiths - All are up for grabs, but don’t forget to bargain! Hungry shoppers have plenty of refreshment options along the way. Northern cuisine is the order of the day, with street hawkers serving up heaped plates of som-tam (spicy papaya salad), sticky rice, steaming spicy sausage, crispy pork rind and other tasty local treats. A trip to the market is also a chance to indulge in a bowl of the city’s trademark khao soi, a delicious dish of flat egg noodles, served in a hearty soup. Khao Soi is one of my favorite dishes. When my belly and my bags were full, a row of friendly reflexologists were at hand at the end of the street, to pummel and prod my aching feet after walking for several hours with a traditional Thai foot massage. This day ended perfectly at this Sunday walking street. My time in Chiang Mai was organized for me by Exotissimo Travel.
Google